วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบ อ.ภูมินทร์ กลุ่มที่ 6

1. กทช ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกอบโกยแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. การพัฒนากิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. ถูกทุกข้อ

2. อำนาจหน้าที่ของ กทช

. กำหนดนโยบาย การพัฒนากิจการโทรคมนาคม

. กำกับและดูแล การประกอบกิจการ โทรคมนาคม

. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

.ถูกทุกข้อ

3. ตัวอย่างงานที่สำคัญของ กทช. และเป็นรูปธรรมแล้ว

. 3G

. 3D

. ส่งเสริมการประกอบ กิจการอินเทอร์เน็ต ให้แพร่หลาย

. WiMAX

4. คำว่า “โทร” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “tele” เป็นคำมาจากภาษาใด

. กรีก

. อียิป

. จีน

. ไทย

5. คำว่า “tele” หมายถึงอะไร

. ไกลออกไป

. ออกไป

. ส่งออก

. กระโดดไป

6. คำว่า “คมนาคม” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “Communicare” เป็นคำมาจากภาษาใด

. ญี่ปุน

. ละติน

. จีน

. ไทย

7. คำว่า “Communicare” หมายถึงอะไร

. การทำงาน

. การพูด

. การใช้งานร่วมกับผู้อื่น

. ผิดทุกข้อ

8. การดักฟังโทรศัพท์ที่เป็นการกระทำของบุคคลทั่วไป มีโทษฐานใด

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษประหารชีวิต

9. การดักฟังโทรศัพท์ที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ มีโทษฐานใด

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษประหารชีวิต

10. ทศท ย่อมาจากอะไร

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมของประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งชาติ

11. กสท ย่อมาจากอะไร

. กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย

12. กสท, ทศท, กทช ใครเป็นเจ้าของ

. รัฐวิสาหกิจ

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย

13. กสช ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งปะเทศไทย

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารงานความถี่วิทยุแห่งชาติ

14. โทรคมนาคม หมายถึง

. การส่ง การรับภาพ หรือการกระจาย

. การกระจาย การส่ง หรือการรับภาพ

. การรับภาพ การกระจาย หรือการส่ง

. การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ

15. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. ใด

. พ.ศ. 2542

. พ.ศ. 2544

. พ.ศ. 2541

. พ.ศ. 2543

16. การกระทำความผิดในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับข้อมูลในไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์

. มาตรา 164

. มาตรา 163

. มาตรา 165

. มาตรา 166

17. การดักฟังโทรศัพท์มีกี่กรณี

. 5 กรณี

. 2 กรณี

. 3 กรณี

. 4 กรณี

18. เครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นใบอนุญาต (Unlicensed) มีกี่ประเภท

. 15 ประเภท

. 16 ประเภท

. 17 ประเภท

. 18 ประเภท

19. กทช ได้มีมติอนุมัติให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระยะสั้น เมื่อใด

. เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550

20. สถาบันใดที่คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

. กบถ

. กทช

. กสท

. กสช

21. กบถ ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารงานความถี่วิทยุแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งปะเทศไทย

22. ทศท. และ กสท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทอะไร

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น (มหาชน), และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม (มหาชน)

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

23. สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้คำนิยามโทรคมนาคมว่า

. การสื่อสัญญาณระยะทางใกล้

. การสื่อสัญญาณระยะทางไกล

. การสื่อสัญญาณระยะทางสั้นๆ

. การสื่อสัญญาณระยะทางกว้าง

24. กทช. ประกอบด้วยประธานกรรมการ กี่คน และกรรมการอื่นอีก กี่คน

. ประธานกรรมการ 2 คน และกรรมการ 5 คน

. ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการ 6 คน

. ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการ 5 คน

. ประธานกรรมการ 2 คน และกรรมการ 6 คน

25. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดตั้งเมื่อปีใด

. .. ๒๔๙๖

... ๒๔๙๗

. .. ๒๔๙๘

. .. ๒๔๙๙

26. การสื่อสารแห่งประเทศไทย จัดตั้งเมื่อปีใด

. .. ๒๕๑๖

. .. ๒๕๑๗

. .. ๒๕๑๘

... ๒๕๑๙

27. แต่งตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเมื่อใด

. วันที่ ๔ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๓ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๒ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๑ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

28. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.. 2544 ได้บัญญัติสิทธิอะไรบ้าง

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนส่วนตัว

. สิทธิในความเป็นส่วนตัว

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

29. เรื่องร้องเรียนที่ กทช. ไม่รับไว้พิจารณา

. เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล

. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาต

. เรื่องที่ กทช. ได้วินิจฉัยหรือระงับข้อพิพาทในเรื่องนั้น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว

. ถูกทุกข้อ

30. เมื่อสำนักงาน กทช. รับเรื่องร้องเรียนแล้วจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน

. 7 วัน

. 8 วัน

. 9 วัน

. 10 วัน

31. กสท ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน

. 1 วัน

. 2 วัน

. 3 วัน

. 30 วัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8 อ.วิทยา

ความเป็นมาของภาษา assembly

ความเป็นมาของภาษา assembly
เป็นธรรมดาที่คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะรับรู้คำสั่งจากมนุษย์ แต่คำสั่งที่คอมพิวเตอร์รู้จักจะอยู่ในรูปของสถานะไฟฟ้าแบบดิจิตอลหรือเป็นรหัสไบนารีเท่านั้น มนุษย์จึงต้องสร้างรหัสไบนารีขึ้นมาแทนการ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีรหัสดิจิตอลโดยเฉพาะที่แตกต่างกันสำหรับการทำงานหนึ่ง ๆ ในหน่ายพื้นฐานของคอมพิวเตอร์คือไมโครโปรเซสเซอร์ การทำงานที่กล่าวถึงนี้เป็นการทำงานพื้นฐานง่าย ๆ เช่น การเคลื่อนย้ายข้อมูล การบวกเลขสองจำนวน การย้ายข้อมูล หรือการลงค่าที่เก็บไว้ด้วยหนึ่ง เป็นต้น

ตารางแสดงรหัสดิจิตอลและความหมาย
รหัส
ความหมาย
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
ย้ายข้อมูล 81H ไปเก็บที่รีจิสเตอร์ชื่อ A1

1 0 0 1 0 1 1 0
ลบข้อมูลที่เก็บในรีจิสเตอร์ A1 ด้วยหนึ่ง
0 1 1 1 0 0 1 1
0 0 0 1 0 0 0 0
0 0 1 1 0 1 0 0
นำข้อมูล 3412H ไปเก็บที่รีจิสเตอร์ HL
1 1 0 0 1 1 1 1
ลบข้อมูลที่อยู่ในรีจีสเตอร์ A1 ด้วยรีจิสเตอร์ A2

รหัสเครื่อง (Machine Code) ที่มีความหมายสั่งการคอมพิวเตอร์ แต่ละคำสั่งอาจเปรียบได้เหมือนกับประโยคหนึ่ง ๆ ในภาษาของมนุษย์ ถ้านำคำสั่งหลายคำสั่งมาเรียบเรียงต่อกัน ก็จะสามารถอธิบายความต้องการหรือการทำงานที่ซับซ้อนได้ กระบวนการเหล่านี้คือการเขียบโปรแกรมนั่นเอง โปรแกรมทีประกอบด้วยรหัสดิจิตอลเช่นนี้เรียกว่า โปรแกรมภาษาเครื่อง (Machine Language Program)

ตารางแสดงโปรแกรมภาษาเครื่องในรูปแบบไบนารี
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
1 0 0 1 0 1 1 0
1 0 1 1 0 0 0 0
0 1 1 1 0 0 0 0
0 0 0 1 1 1 0 0
1 1 0 0 0 0 0 1

การใช้ภาษาเครื่องมีปัญหาในทางปฎิบัติ เพราะต้องจำว่ารหัสอะไรมีความหมายอย่างไร ยากต่อการตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมที่ป้อนเข้าไปแล้วว่ามีที่ผิดตรงไหนบ้างหรือไม่ รวมทั้งการอ่านและเขียนก็มีโอกาสผิดพลาดได้มากในระยะต่อมาได้มีแนวคิดจะทำให้การอ่านรหัสเหล่านี้ง่ายขึ้น โดยการแทนรหัสไบนารีเหล่านี้ด้วยรหัสฐานสิบหก โดยพิจารณาทีละ 4 บิต จะเห็นได้ว่ารหัสฐานสิบหกตัวเดียวสามารถแทนรหัสไบนารีได้ 4 ตัวได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงการแทนรหัสไบนารีด้วยรหัสฐานสิบหก
รหัสฐานสอง
รหัสฐานสิบหก
0 0 0 0
0 0 0 1
0 0 1 0
0 0 1 1
0 1 0 0
0 1 0 1
0 1 1 0
0 1 1 1
1 0 0 0
1 0 0 1
1 0 1 0
1 0 1 1
1 1 0 0
1 1 0 1
1 1 1 0
1 1 1 1
0
123456789ABCDEF
ดังนั้นโปรแกรมเลขฐานสอง จึงสามารถเขียนในรูปเลขฐานสิบหกได้ดังนี้

ตารางโปรแกรมภาษาเครื่องในรูปแบบเลขฐานสิบหก
รหัสฐานสอง
รหัสฐานสิบหก
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
1 0 0 1 0 1 1 0
1 0 1 1 0 0 0 0
0 1 1 1 0 0 0 0
0 0 0 1 1 1 0 0
1 1 0 0 0 0 0 1
43H
81H
96H
BOH
70H
1CH
C1H

การแทนด้วยรหัสฐานสิบหกทำให้อ่านโปรแกรมได้ง่าย และเป็นรูปแบบที่กะทัดรัดขึ้น แต่รหัสฐานสิบหกไม่สื่อความหมายกับการทำงานอะไรเลย ต้องใช้ความจำอย่างเดียวว่ารหัสอะไรทำงานอะไร แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์มักจะมีชิดคำสั่งเป็นร้อยคำสั่งขึ้นไป วิธีการนี้จึงยังไม่สะดวกในการทำงาน จึงมีการคิดคำย่อสั้น ๆ จากความหมายของคำสั่งนั้น โดยเรียกว่า เป็นรหัสมีโนมิค (Mnemonic) ซึ่งพอจะเดาความหมายออกได้บ้าง และรูปแบบการเขียนก็ไม่เยินเย้อเกินไป

ตารางแสดงรหัสมีโมนิคและความหมาย
รหัสนีโมนิค
ความหมาย
INC A1
MOV A1, A2
DIV A2, A3
CPA
INCrease register A1 with 1
MOVe data form register A1 to A2
DIVide register A2 with A3
ComPlement register A

ภาษาที่ใช้รหัสนีโมนิคในการเขียน เรียกว่า ภาษาแอสเซมบลี(AssemblyLanguage) ซึ่งผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์แต่ละเบอร์มักใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีความแตกต่างกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อต้องการเขียนโปรแกรมสำหรับไมโครโปรเซสเซอร์ใหม่ จึงควรต้องศึกษาคู่มือการอธิบายคำสั่งของผู้ผลิตทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษที่ยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากใช้คำสั่งที่ต่างจากคำศัพท์ที่มนุษย์ทั่วไปใช้กัน โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ผู้เขียนที่มีความรู้ระดับทราบถึงรายละเอียดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเขียนนาน นากจากนี้ถ้ามีโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งอยู่แล้ว จะนำโปรแกรมเดิมนั้นไปทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอื่นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย แม้จะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เดียวกันก็ตาม เว้นแต่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะออกแบบให้มีความคล้ายกัน (Compatible) อย่างมาก อาจจะกล่าวได้ว่า โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีมีประสิทธิภาพด้านการเคลื่อนย้าย (Transportable) ต่ำ
สิ่งที่ต้องศึกษาเพื่อเขียนภาษาแอสเซมบลี
การเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้ ต้องศึกษาสิ่งต่อไปนี้คือ


สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor’s Architecture)
ในระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานทั้งระบบ การคำนวณหลักและการติดต่อกับหน่วยความจำหลัก (Main Memory) คือ ซีพียู (CPU : Cemtral Processing Unit) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ก็คือไมโครโปรเซสเซอร์ คำว่า “ ซีพียู ” และ “ ไมโครโปรเซสเซอร์ ” ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงอาจใช้แทนกันได้ด้วยเหตุผลนี้
การศึกษาสถาปัตยกรรมของซีพียูมีจุดประสงค์ เพื่อให้รู้จัถึงองค์ประกอบภายในซีพียูที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนคำสั่งไปควบคุมการทำงานได้ ( เรียกรวมว่า Software/Programming Model) เช่น รีจิสเตอร์ (Registers) ต่าง ๆ วิธีการอ้างตำแหน่งหน่วยความจำ (Addressing Modes) และชุดคำสั่ง ( Instructions Set) ตลอดจนการทำงานทั่วไปของซีพียู และรูปแบบข้อมูลที่ไมโครโปรเซสเซอร์นั้นมีคำสั่งไว้ทำงานด้วย

อุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์
การทำงานบางอย่างต้องใช้ภาษาแอสเซมบลี เพราะต้องเกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเป็นภาษาสูงไม่สามารถทำได้ หรือทำได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณืไฟฟ้าที่ประกอบกับซีพียูรวมกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยความจำ หน่วยรับส่งข้อมูล เป็นต้น การเขียนโปรแกรมสำหรับงานบางอย่างต้องการความรู้ละเอียดถึงขนาดต้องรู้หมายเลขของพอร์ต (Port) ที่รับส่งข้อมูล ต้องการรู้ถึงเทคนิคการรับส่งข้อมูลว่าทำแบบใด และต้องรู้ช่วงเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด
สำหรับระบบที่ซับซ้อน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซี การติดต่อระหว่างอุปกรณ์กับซีพียูจะทำผ่านอุปกรณ์ควบคุมที่โปรแกรมได้ (Programmable Controller) หลายตัว ตัวอย่างเช่น ตัวควบคุมการส่งข้อมูลแบบตรง (DMA Controller) ตัวควบคุมการขออินเทอรัปต์ (Interrupt Controller) นาฬิกา (Timer; ไม่ใช่สัญญาณนาฬิกา CLK) ตัวควบคุมการส่งข้อมูลแบบขนานและอนุกรม ตัวควบคุมการแสดงผลทางจอภาพ ตัวควบคุมการเขียนอ่านดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้น ผู้เขียนโปรแกรมต้องศึกษาการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย จึงจะสามารถใช้ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่

ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป มีโปรแกรมที่ช่วยจัดการและอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรของเครื่อง เช่น การจัดการจอแสดงผล การจัดการเก็บข้อมูลกับแผ่นดิสก์ การจัดการส่วนรับข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ โปรแกรมชนิดนี้เรียกว่า โปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วยโปรแกรมย่อยจำนวนมาก สำหรับจัดการงานพื้นฐานในการใช้ทรัพยากรระบบ ผู้เขียนโปรแกรมที่เข้าใจการทำงานของระบบปฏิบัติการ สามารถเรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการเพื่อทำงานต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดของอุปกรณ์ที่กล่าวมาก็ได้ ดังนั้นการเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีโดยที่ศึกษาระบบปฏิบัติการไปด้วยจะช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1 cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย

โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกัน

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือก

ให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร

2 device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์

มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้ Device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัวโปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก

3 เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น

เกิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test เพื่อตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด แรม ซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่นคีย์บอร์ดหรือเมาส์ โดยจะส่งสัญญาณเป็นเสียงสั้นยาวต่างกัน เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

4 ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

- โคลบู๊ต (cold boot)

เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (Power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของ

คอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป

- วอร์มบู๊ต (warm boot)

เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง (Restart) โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ

- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง

- กดปุ่ม C+alt+delete จากแป้นพิมพ์

- สั่งรีสตาร์ทเครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการได้เลย

5 จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป

ส่วนประสานงานแบบ Command line จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยตัวอักษรเพียงเท่า

นั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับ

ส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อ

ให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่

เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฏบนจอ ก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ

6 โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง

Treelike structure หรือโครงสร้างแบบต้นไม้ เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลแบบลำดับชั้นนิยมใช้สำหรับการจัดการโครงสร้างไฟล์ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำโดยแยกออกเป็นส่วนๆเรียกว่า โฟลเดอร์ เหมือนเป็นกิ่งก้านและแตกสาขาไปได้อีก

7 ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบาย

ด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร

ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่าง

ไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้

- myprofile.doc

ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า My profile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงานนั่นเอง (Document)

- report.xls

ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า Report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ .xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณพบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel

- present.ppt

ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า Present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint

- about.htm

ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า About นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTMLที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ

- message.txt

ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า Message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มักสร้างจากโปรแกรมประเภท Editor ทั่วไป

8 หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

หน่วยความจำเสมือนหรือ Virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า Page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะเพจที่ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9 spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง

หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่องพิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะสามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง

10 ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน

เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (Plug) ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที (Play)

11 multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป

เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้

คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็น

ตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใด

ตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1 คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ

คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่

สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและออก

แบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

2 ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร

เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไป

แต่จะใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อ

มีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับ

คอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย

3 OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้

เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ หรือชื่อเต็มว่า

Optical Mark Reader มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การ

สอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก..

โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระดาษคำตอบที่ออกแบบมาพิเศษ

4 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น

เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีซี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการ

เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียมิได้ ความสามารถ

ของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆได้หรือไม่นั้น

จึงล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น

5 หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ

สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้

- แบบจานแม่เหล็ก

เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับ

ความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์

- แบบแสง

เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัด

เก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูล

จากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVD เป็นต้น

- แบบเทป

เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง

กันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น

- แบบอื่นๆ

เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash drive,

Thumb drive หรือ handy drive เป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory card เพื่อ

ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้ง

หลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น

6 แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร

พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่น

จาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความ

หนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของ

แทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว

เซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง

7 แผ่นดิสก์เก็ตแผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละ

เซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้

ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้

ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes

= 737,280 bytes

= 720 KiB (737,280/1024)

หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)

8 ดิสก์เก็ตและฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ดิสก์เก็ตจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อ

มูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วย

สำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสก์เก็ตจะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อ

มูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด

9 สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูล

โปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะ

มากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้

เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง

10 Point Of Sale คืออะไร

จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามา

ชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันที ซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ

11 งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใด

เครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง

ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้ง

เดียว คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มาก อีกทั้งยังช่วยให้

ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัว

เข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือน

กับแผ่นต้นฉบับ

12 เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและ

ขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บน

กระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่า

เนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการ

ทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่

เป็นแบบสีและขาวดำ