วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบ อ.ภูมินทร์ กลุ่มที่ 6

1. กทช ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกอบโกยแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. การพัฒนากิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. ถูกทุกข้อ

2. อำนาจหน้าที่ของ กทช

. กำหนดนโยบาย การพัฒนากิจการโทรคมนาคม

. กำกับและดูแล การประกอบกิจการ โทรคมนาคม

. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

.ถูกทุกข้อ

3. ตัวอย่างงานที่สำคัญของ กทช. และเป็นรูปธรรมแล้ว

. 3G

. 3D

. ส่งเสริมการประกอบ กิจการอินเทอร์เน็ต ให้แพร่หลาย

. WiMAX

4. คำว่า “โทร” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “tele” เป็นคำมาจากภาษาใด

. กรีก

. อียิป

. จีน

. ไทย

5. คำว่า “tele” หมายถึงอะไร

. ไกลออกไป

. ออกไป

. ส่งออก

. กระโดดไป

6. คำว่า “คมนาคม” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “Communicare” เป็นคำมาจากภาษาใด

. ญี่ปุน

. ละติน

. จีน

. ไทย

7. คำว่า “Communicare” หมายถึงอะไร

. การทำงาน

. การพูด

. การใช้งานร่วมกับผู้อื่น

. ผิดทุกข้อ

8. การดักฟังโทรศัพท์ที่เป็นการกระทำของบุคคลทั่วไป มีโทษฐานใด

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษประหารชีวิต

9. การดักฟังโทรศัพท์ที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ มีโทษฐานใด

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

. ต้องระวางโทษประหารชีวิต

10. ทศท ย่อมาจากอะไร

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมของประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งชาติ

11. กสท ย่อมาจากอะไร

. กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย

12. กสท, ทศท, กทช ใครเป็นเจ้าของ

. รัฐวิสาหกิจ

. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

. การสื่อสารแห่งประเทศไทย

. โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย

13. กสช ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งปะเทศไทย

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารงานความถี่วิทยุแห่งชาติ

14. โทรคมนาคม หมายถึง

. การส่ง การรับภาพ หรือการกระจาย

. การกระจาย การส่ง หรือการรับภาพ

. การรับภาพ การกระจาย หรือการส่ง

. การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ

15. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. ใด

. พ.ศ. 2542

. พ.ศ. 2544

. พ.ศ. 2541

. พ.ศ. 2543

16. การกระทำความผิดในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับข้อมูลในไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์

. มาตรา 164

. มาตรา 163

. มาตรา 165

. มาตรา 166

17. การดักฟังโทรศัพท์มีกี่กรณี

. 5 กรณี

. 2 กรณี

. 3 กรณี

. 4 กรณี

18. เครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นใบอนุญาต (Unlicensed) มีกี่ประเภท

. 15 ประเภท

. 16 ประเภท

. 17 ประเภท

. 18 ประเภท

19. กทช ได้มีมติอนุมัติให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระยะสั้น เมื่อใด

. เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2550

. เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550

20. สถาบันใดที่คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

. กบถ

. กทช

. กสท

. กสช

21. กบถ ย่อมาจากอะไร

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ

. คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารงานความถี่วิทยุแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งปะเทศไทย

22. ทศท. และ กสท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทอะไร

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น (มหาชน), และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม (มหาชน)

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

. ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

23. สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้คำนิยามโทรคมนาคมว่า

. การสื่อสัญญาณระยะทางใกล้

. การสื่อสัญญาณระยะทางไกล

. การสื่อสัญญาณระยะทางสั้นๆ

. การสื่อสัญญาณระยะทางกว้าง

24. กทช. ประกอบด้วยประธานกรรมการ กี่คน และกรรมการอื่นอีก กี่คน

. ประธานกรรมการ 2 คน และกรรมการ 5 คน

. ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการ 6 คน

. ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการ 5 คน

. ประธานกรรมการ 2 คน และกรรมการ 6 คน

25. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดตั้งเมื่อปีใด

. .. ๒๔๙๖

... ๒๔๙๗

. .. ๒๔๙๘

. .. ๒๔๙๙

26. การสื่อสารแห่งประเทศไทย จัดตั้งเมื่อปีใด

. .. ๒๕๑๖

. .. ๒๕๑๗

. .. ๒๕๑๘

... ๒๕๑๙

27. แต่งตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเมื่อใด

. วันที่ ๔ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๓ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๒ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

. วันที่ ๑ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๗

28. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.. 2544 ได้บัญญัติสิทธิอะไรบ้าง

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนส่วนตัว

. สิทธิในความเป็นส่วนตัว

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว

. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

29. เรื่องร้องเรียนที่ กทช. ไม่รับไว้พิจารณา

. เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล

. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาต

. เรื่องที่ กทช. ได้วินิจฉัยหรือระงับข้อพิพาทในเรื่องนั้น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว

. ถูกทุกข้อ

30. เมื่อสำนักงาน กทช. รับเรื่องร้องเรียนแล้วจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน

. 7 วัน

. 8 วัน

. 9 วัน

. 10 วัน

31. กสท ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน

. 1 วัน

. 2 วัน

. 3 วัน

. 30 วัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8 อ.วิทยา

ความเป็นมาของภาษา assembly

ความเป็นมาของภาษา assembly
เป็นธรรมดาที่คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะรับรู้คำสั่งจากมนุษย์ แต่คำสั่งที่คอมพิวเตอร์รู้จักจะอยู่ในรูปของสถานะไฟฟ้าแบบดิจิตอลหรือเป็นรหัสไบนารีเท่านั้น มนุษย์จึงต้องสร้างรหัสไบนารีขึ้นมาแทนการ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีรหัสดิจิตอลโดยเฉพาะที่แตกต่างกันสำหรับการทำงานหนึ่ง ๆ ในหน่ายพื้นฐานของคอมพิวเตอร์คือไมโครโปรเซสเซอร์ การทำงานที่กล่าวถึงนี้เป็นการทำงานพื้นฐานง่าย ๆ เช่น การเคลื่อนย้ายข้อมูล การบวกเลขสองจำนวน การย้ายข้อมูล หรือการลงค่าที่เก็บไว้ด้วยหนึ่ง เป็นต้น

ตารางแสดงรหัสดิจิตอลและความหมาย
รหัส
ความหมาย
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
ย้ายข้อมูล 81H ไปเก็บที่รีจิสเตอร์ชื่อ A1

1 0 0 1 0 1 1 0
ลบข้อมูลที่เก็บในรีจิสเตอร์ A1 ด้วยหนึ่ง
0 1 1 1 0 0 1 1
0 0 0 1 0 0 0 0
0 0 1 1 0 1 0 0
นำข้อมูล 3412H ไปเก็บที่รีจิสเตอร์ HL
1 1 0 0 1 1 1 1
ลบข้อมูลที่อยู่ในรีจีสเตอร์ A1 ด้วยรีจิสเตอร์ A2

รหัสเครื่อง (Machine Code) ที่มีความหมายสั่งการคอมพิวเตอร์ แต่ละคำสั่งอาจเปรียบได้เหมือนกับประโยคหนึ่ง ๆ ในภาษาของมนุษย์ ถ้านำคำสั่งหลายคำสั่งมาเรียบเรียงต่อกัน ก็จะสามารถอธิบายความต้องการหรือการทำงานที่ซับซ้อนได้ กระบวนการเหล่านี้คือการเขียบโปรแกรมนั่นเอง โปรแกรมทีประกอบด้วยรหัสดิจิตอลเช่นนี้เรียกว่า โปรแกรมภาษาเครื่อง (Machine Language Program)

ตารางแสดงโปรแกรมภาษาเครื่องในรูปแบบไบนารี
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
1 0 0 1 0 1 1 0
1 0 1 1 0 0 0 0
0 1 1 1 0 0 0 0
0 0 0 1 1 1 0 0
1 1 0 0 0 0 0 1

การใช้ภาษาเครื่องมีปัญหาในทางปฎิบัติ เพราะต้องจำว่ารหัสอะไรมีความหมายอย่างไร ยากต่อการตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมที่ป้อนเข้าไปแล้วว่ามีที่ผิดตรงไหนบ้างหรือไม่ รวมทั้งการอ่านและเขียนก็มีโอกาสผิดพลาดได้มากในระยะต่อมาได้มีแนวคิดจะทำให้การอ่านรหัสเหล่านี้ง่ายขึ้น โดยการแทนรหัสไบนารีเหล่านี้ด้วยรหัสฐานสิบหก โดยพิจารณาทีละ 4 บิต จะเห็นได้ว่ารหัสฐานสิบหกตัวเดียวสามารถแทนรหัสไบนารีได้ 4 ตัวได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงการแทนรหัสไบนารีด้วยรหัสฐานสิบหก
รหัสฐานสอง
รหัสฐานสิบหก
0 0 0 0
0 0 0 1
0 0 1 0
0 0 1 1
0 1 0 0
0 1 0 1
0 1 1 0
0 1 1 1
1 0 0 0
1 0 0 1
1 0 1 0
1 0 1 1
1 1 0 0
1 1 0 1
1 1 1 0
1 1 1 1
0
123456789ABCDEF
ดังนั้นโปรแกรมเลขฐานสอง จึงสามารถเขียนในรูปเลขฐานสิบหกได้ดังนี้

ตารางโปรแกรมภาษาเครื่องในรูปแบบเลขฐานสิบหก
รหัสฐานสอง
รหัสฐานสิบหก
0 1 0 0 0 0 1 1
1 0 0 0 0 0 0 1
1 0 0 1 0 1 1 0
1 0 1 1 0 0 0 0
0 1 1 1 0 0 0 0
0 0 0 1 1 1 0 0
1 1 0 0 0 0 0 1
43H
81H
96H
BOH
70H
1CH
C1H

การแทนด้วยรหัสฐานสิบหกทำให้อ่านโปรแกรมได้ง่าย และเป็นรูปแบบที่กะทัดรัดขึ้น แต่รหัสฐานสิบหกไม่สื่อความหมายกับการทำงานอะไรเลย ต้องใช้ความจำอย่างเดียวว่ารหัสอะไรทำงานอะไร แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์มักจะมีชิดคำสั่งเป็นร้อยคำสั่งขึ้นไป วิธีการนี้จึงยังไม่สะดวกในการทำงาน จึงมีการคิดคำย่อสั้น ๆ จากความหมายของคำสั่งนั้น โดยเรียกว่า เป็นรหัสมีโนมิค (Mnemonic) ซึ่งพอจะเดาความหมายออกได้บ้าง และรูปแบบการเขียนก็ไม่เยินเย้อเกินไป

ตารางแสดงรหัสมีโมนิคและความหมาย
รหัสนีโมนิค
ความหมาย
INC A1
MOV A1, A2
DIV A2, A3
CPA
INCrease register A1 with 1
MOVe data form register A1 to A2
DIVide register A2 with A3
ComPlement register A

ภาษาที่ใช้รหัสนีโมนิคในการเขียน เรียกว่า ภาษาแอสเซมบลี(AssemblyLanguage) ซึ่งผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์แต่ละเบอร์มักใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีความแตกต่างกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อต้องการเขียนโปรแกรมสำหรับไมโครโปรเซสเซอร์ใหม่ จึงควรต้องศึกษาคู่มือการอธิบายคำสั่งของผู้ผลิตทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษที่ยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากใช้คำสั่งที่ต่างจากคำศัพท์ที่มนุษย์ทั่วไปใช้กัน โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ผู้เขียนที่มีความรู้ระดับทราบถึงรายละเอียดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเขียนนาน นากจากนี้ถ้ามีโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งอยู่แล้ว จะนำโปรแกรมเดิมนั้นไปทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอื่นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย แม้จะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เดียวกันก็ตาม เว้นแต่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะออกแบบให้มีความคล้ายกัน (Compatible) อย่างมาก อาจจะกล่าวได้ว่า โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีมีประสิทธิภาพด้านการเคลื่อนย้าย (Transportable) ต่ำ
สิ่งที่ต้องศึกษาเพื่อเขียนภาษาแอสเซมบลี
การเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้ ต้องศึกษาสิ่งต่อไปนี้คือ


สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor’s Architecture)
ในระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานทั้งระบบ การคำนวณหลักและการติดต่อกับหน่วยความจำหลัก (Main Memory) คือ ซีพียู (CPU : Cemtral Processing Unit) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ก็คือไมโครโปรเซสเซอร์ คำว่า “ ซีพียู ” และ “ ไมโครโปรเซสเซอร์ ” ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงอาจใช้แทนกันได้ด้วยเหตุผลนี้
การศึกษาสถาปัตยกรรมของซีพียูมีจุดประสงค์ เพื่อให้รู้จัถึงองค์ประกอบภายในซีพียูที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนคำสั่งไปควบคุมการทำงานได้ ( เรียกรวมว่า Software/Programming Model) เช่น รีจิสเตอร์ (Registers) ต่าง ๆ วิธีการอ้างตำแหน่งหน่วยความจำ (Addressing Modes) และชุดคำสั่ง ( Instructions Set) ตลอดจนการทำงานทั่วไปของซีพียู และรูปแบบข้อมูลที่ไมโครโปรเซสเซอร์นั้นมีคำสั่งไว้ทำงานด้วย

อุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์
การทำงานบางอย่างต้องใช้ภาษาแอสเซมบลี เพราะต้องเกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเป็นภาษาสูงไม่สามารถทำได้ หรือทำได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณืไฟฟ้าที่ประกอบกับซีพียูรวมกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยความจำ หน่วยรับส่งข้อมูล เป็นต้น การเขียนโปรแกรมสำหรับงานบางอย่างต้องการความรู้ละเอียดถึงขนาดต้องรู้หมายเลขของพอร์ต (Port) ที่รับส่งข้อมูล ต้องการรู้ถึงเทคนิคการรับส่งข้อมูลว่าทำแบบใด และต้องรู้ช่วงเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด
สำหรับระบบที่ซับซ้อน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซี การติดต่อระหว่างอุปกรณ์กับซีพียูจะทำผ่านอุปกรณ์ควบคุมที่โปรแกรมได้ (Programmable Controller) หลายตัว ตัวอย่างเช่น ตัวควบคุมการส่งข้อมูลแบบตรง (DMA Controller) ตัวควบคุมการขออินเทอรัปต์ (Interrupt Controller) นาฬิกา (Timer; ไม่ใช่สัญญาณนาฬิกา CLK) ตัวควบคุมการส่งข้อมูลแบบขนานและอนุกรม ตัวควบคุมการแสดงผลทางจอภาพ ตัวควบคุมการเขียนอ่านดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้น ผู้เขียนโปรแกรมต้องศึกษาการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย จึงจะสามารถใช้ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่

ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป มีโปรแกรมที่ช่วยจัดการและอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรของเครื่อง เช่น การจัดการจอแสดงผล การจัดการเก็บข้อมูลกับแผ่นดิสก์ การจัดการส่วนรับข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ โปรแกรมชนิดนี้เรียกว่า โปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วยโปรแกรมย่อยจำนวนมาก สำหรับจัดการงานพื้นฐานในการใช้ทรัพยากรระบบ ผู้เขียนโปรแกรมที่เข้าใจการทำงานของระบบปฏิบัติการ สามารถเรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการเพื่อทำงานต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดของอุปกรณ์ที่กล่าวมาก็ได้ ดังนั้นการเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีโดยที่ศึกษาระบบปฏิบัติการไปด้วยจะช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น